โทษของลูกอม

                 ฮอตฮิตในหมู่เด็กและวัยรุ่นตอนนี้ คงหนีไม่พ้น ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ก็เห็น

วางขายเกลื่อน เป็นเหตุให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนถึงอันตราย โดยเฉพาะเด็ก 

ๆ หากกลืนสารเรืองแสงเข้าไป



นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง ดังกล่าว มีการอ้างว่านำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น จีน วาง

จำหน่ายอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และยังมีการโฆษณาขายทางอินเทอร์เน็ต รับสั่งจองล่วงหน้าและบริการจัดส่งสินค้าทาง

ไปรษณีย์อีกด้วย จากการตรวจสอบ พบว่า ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ มีลักษณะรูปร่างคล้ายอมยิ้มทั่วไป แต่ในส่วนก้านเป็น

หลอดพลาสติกใส ข้างในมีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อหักก้านอมยิ้มจะทำให้เกิดการเรืองแสง 

จากการรายงานในเบื้องต้น ระบุว่า ในก้านของลูกอม หรือ อมยิ้ม น่าจะมีสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารฟีนิลออกซา

เลตเอสเทอร์ และสารเรืองแสงสีต่าง ๆ เมื่องอแท่งเรืองแสงให้กระเปาะแก้วที่อยู่ภายในหัก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะ

ไหลออกมา ทำปฏิกิริยากับฟีนิลออกซาเลตเอสเทอร์ จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาและไปกระตุ้นโมเลกุลของ

สารเรืองแสงที่บรรจุอยู่ในแท่งเรืองแสงให้เกิดปรากฏการณ์เรืองแสงขึ้น แต่ท้ายที่สุดคงต้องรอผลการตรวจของกรม

วิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างเป็นทางการอีกที

ที่น่าห่วงคือ หากบริโภค สารที่อยู่ในก้านลูกอม หรืออมยิ้มเข้าไป โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ก้านอมยิ้มรั่ว อาจทำให้เกิดอาการ


แสบท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ช็อกและเสียชีวิตได้ 


ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง จึงถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 คือ 1. กรณีไม่แสดง


ฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขสารบบอาหารบนฉลาก ผู้ที่นำเข้า จำหน่ายอาหารที่มีฉลากไม่ถูกต้องมีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท 2. 

กรณีนำเข้าเพื่อจำหน่ายต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. กรณีนำเข้าหรือจำหน่ายอาหารที่มีการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่มิใช่อาหารในภาชนะบรรจุอาหารและหีบห่อ โดยไม่ได้มีวัตถุ 

ประสงค์เพื่อรักษาคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องปรุง หรือประกอบอาหาร หรือใช้เป็นอุปกรณ์ในการบริโภค

หรือเตรียมอาหาร เช่น ช้อน ส้อม ซึ่งวัตถุนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับ

ตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท

ด้าน ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.กองควบคุม อาหาร อย. กล่าวว่า ลูกอม หรืออมยิ้ม มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำตาล กลิ่น สี 

และแบะแซ ที่เติมแบะแซ ก็เพื่อให้เป็นผลึก ไม่เป็นก้อนขุ่นขาวเหมือนน้ำตาล ปัจจุบันมีผู้ผลิตและนำเข้าหลากหลายยี่ห้อ และ

หลายรูปแบบ 

ปัญหาลูกอม หรืออมยิ้ม ที่เคยเจอในสมัยก่อน คือ ใช้สีเกินมาตรฐาน คงเคยได้ยินลูกอมปิศาจ ที่อมแล้วลิ้นสีแดง มีการใช้สีไม่

ได้มาตรฐาน ตรวจ พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท นอกจากนี้ยังมีลูกอมแมลง เป็นแมลงจริง ๆ อยู่ในลูกอมซึ่ง 

อย.ไม่ได้อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่าย ดังนั้นระยะหลังทางผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าจะส่งตัวอย่างมาให้ อย. ดูก่อน 

ต่อมาก็มีปัญหาเรื่องของแถมที่ติดมากับลูกอม หรืออมยิ้ม โดยทำเป็นก้านของลูกอม เช่น ไฟฉาย นกหวีด หรือของเล่น ทำให้

ปัญหาติดคอเด็ก หรือเด็กกลืนกินเข้าไป ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 310 พ.ศ. 2551 เรื่อง

การห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายอาหารที่มีการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่มิใช่อาหาร ในภาชนะบรรจุอาหารและหีบห่อ มาควบคุม

ดร.ทิพย์วรรณ แนะนำว่า การบริโภคน้ำตาลไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน เพราะการบริโภคมาก ๆ อาจทำให้ ฟันผุ หรือ


ทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพระยะยาว กลายเป็นคนติดหวาน และเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ ลูกอม 

หรือ อมยิ้ม อาจทำให้ติดคอเสียชีวิตได้ ดังนั้นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบผู้ปกครองควรระมัดระวัง ไม่ให้รับประทาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น